List of content

    ยุโรปกับความจริงที่ต้องเผชิญเมื่อโควิดไม่หมดไปสักที [ผลกระทบโควิดทั่วโลก]


    ยุโรปกับความจริงที่ต้องเผชิญเมื่อโควิดไม่หมดไปสักที [ผลกระทบโควิดทั่วโลก]

    มาแล้วครับ....

    วันนี้แอดมีภาพรวมเกี่ยวกับประเทศในสหภาพยุโรป เผื่อหลายๆคนจะได้นำไปประกอบการตัดสินใจในการลงทุนนะครับ "ยุโรปกับความจริงที่ต้องเผชิญเมื่อโควิดไม่หมดไปสักที"

     

    ยุโรปกับความจริงที่ต้องเผชิญเมื่อโควิดไม่หมดไปสักที [ผลกระทบโควิดทั่วโลก]

    สวัสดีผู้อ่านทุกท่านนะครับ ผมมาคิดๆดูแล้วว่าสองโพสต์ที่ผ่านมานั้นเป็นโพสต์ที่ว่าด้วยเรื่องเกี่ยวกับสภาพของปัญหาที่แต่ละประเทศเจออยู่ วันนี้ผมจะมาเล่าในส่วนของภาวะปัจจุบันที่ประทศนั้นเผชิญอยู่ จะว่าไปผู้บริหารของสหภาพยุโรปซึ่งไม่มีอำนาจในการตัดสินใจด้านสาธารณสุขได้เรียกร้องให้ประเทศสมาชิก ใช้วิธีการกำหนดนโยบายร่วมกันมากกว่าการตัดสินใจแบบตัวใครตัวมัน จากความพยายามที่จะกำหนดกลยุทธ์ในระดับยุโรป คณะกรรมาธิการยุโรปจึงได้มีคำแนะนำสำหรับประเทศสมาชิกทุกประเทศร่วมกัน โดยเสนอแนะว่า มาตรการผ่อนคลายการกักกันหรือล็อกดาวน์ควรจะเริ่มก็ต่อเมื่อการชะลอตัวของการแพร่ระบาดของไวรัสอย่างมีนัยสำคัญที่ชัดเจน และโรงพยาบาลสามารถรองรับการแพร่กระจายเชื้อไวรัสจากผู้ติดเชื้อรายใหม่ได้เพียงพอ

    อย่างไรก็ตามนะครับการปลดล็อกดาวน์ในหลายประเทศเกิดจากแรงกดดันทั้งภาครัฐบาลและเอกชนที่กระตุ้นให้เริ่มฟื้นฟูกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างเร็วที่สุด เห็นได้ชัดเจนว่า กลยุทธ์ที่ประเทศสมาชิกอียู 27 นั้นยังขาดการประสานกันในภาพรวมของมาตรการที่บังคับใช้ หากทว่าความแตกต่างของสถานการณ์ที่ในประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปแต่ละประเทศซึ่งบางครั้งอาจแตกต่างกันออกไป เนื่องจากสถานการณ์ปัญหาการติดเชื้อในประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรปมีลักษณะเฉพาะตัว แต่ละรัฐบาลจึงมีมาตรการล็อกดาวน์ของตนเอง

    ส่วนในเรื่องของข้อมูลทั่วไปของมาตรการผ่อนคลายการล็อกดาวน์ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปที่ประกาศใช้แล้ว ก็มีประมาณนี้เลยครับ

     

    เยอรมนี :
    ร้านขายของชำ ร้านหนังสือ ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ ร้านค้าเยอรมันส่วนใหญ่ที่มีพื้นที่น้อยกว่า 800 ตารางเมตร เปิดดำเนินการได้ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน แต่การปลดล็อกดาวน์อย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยยังต้องรักษาระยะห่างทางสังคมจนถึงวันที่ 3 พฤษภาคมซึ่งเป็นวันก่อนเปิดโรงเรียนและร้านทำผม

    ออสเตรีย :
    อนุญาตให้เปิดสวนสาธารณะขนาดใหญ่และร้านค้าขนาดเล็กอีกครั้งตั้งแต่วันที่ 14 เมษายนพร้อมกับความเข้มงวดของ การรักษาระยะห่างทางสังคม และบังคับให้สวมหน้ากากในพื้นที่สาธารณะ สำหรับโรงเรียนจะค่อยๆ เปิดให้นักเรียนกลับเข้ามาในห้องเรียนในสภาพแวดล้อมที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันการติดเชื้อ covid-19 ตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคมเป็นต้นไป ได้ปลดล็อกดาวน์สกีรีสอร์ตที่มีชื่อเสียงที่สุดในประเทศสามแห่งรวมถึง Ischgl ที่ตั้งอยู่บริเวณชายแดนอิตาลี สวิตเซอร์แลนด์ และเยอรมนี ก่อนกำหนดเดิมหลายวัน ขณะที่ร้านอาหารคาดว่าน่าจะเปิดได้กลางพฤษภาคม

    เบลเยียม :
    วางแผนที่จะทยอยปลดล็อกดาวน์หลายขั้นตอน วันที่ 4 พฤษภาคม ธุรกิจกับธุรกิจเริ่มกลับมาดำเนินกิจการได้ รวมทั้งการฝึกซ้อมกีฬากลางแจ้งและกีฬารายบุคคล วันที่ 11 พฤษภาคม ธุรกิจทั้งหมดสามารถเปิดได้ ในวันที่ 18 พฤษภาคม โรงเรียนเริ่มเปิดให้นักเรียนทยอยกลับมา และกฎเกณฑ์ในการใช้ชีวิตทางสังคมจะค่อยๆ ผ่อนคลาย รวมทั้งกิจกรรมทางวัฒนธรรมและกีฬาภายใต้เงื่อนไขที่เข้มงวด ทั้งนี้ วันที่กำหนดไว้อาจมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับสถานการณ์แพร่ระบาด ร้านอาหารคาดว่าเปิดได้ตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายน

    บัลแกเรีย :
    รัฐบาลบัลแกเรียได้ออกมาตรการล็อกดาวน์โซเฟียซึ่งเป็นเมืองหลวงตั้งแต่วันศุกร์ที่ 17 เมษายนโดยไม่ได้กำหนดวันสิ้นสุด (จะไม่มีมาตรการอื่นสำหรับพื้นที่อื่นของประเทศ) บัลแกเรียเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับผลกระทบน้อยที่สุดในยุโรปในขณะนี้

    เดนมาร์ก :
    ค่อยๆ ยกเลิกมาตรการในการต่อสู้โควิด-19 โดยประกาศว่า ไม่อนุญาตให้มีการรวมตัวกันมากกว่า 500 คนก่อนวันที่ 1 กันยายน และห้ามมิให้มีการรวมตัวกันมากกว่า 10 คนทั้งในร่มและกลางแจ้งจนถึงวันที่ 10 พฤษภาคม โรงเรียนและสถานรับเลี้ยงเด็กเปิดวันจันทร์ที่ 13 เมษายน ขณะที่ธุรกิจขนาดเล็กเช่น ร้านทำผม ทันตแพทย์เปิดได้วันที่ 15 เมษายน วิทยาลัย โรงเรียนมัธยม ร้านอาหารและบาร์จะเปิดให้บริการอีกครั้งในวันที่ 11 พฤษภาคม

    สเปน :
    หลังจากปิดถูกล็อกดาวน์อยู่ที่บ้าน 6 สัปดาห์ เด็กๆ สเปนสามารถเริ่มออกเล่นนอกบ้านได้อีกครั้งตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน ด้วยข้อจำกัดบางอย่างเช่น ไม่มีการติดต่อกัน มาตรการล็อกดาวน์ขยายไปถึง 9 พฤษภาคม และรัฐบาลจะนำเสนอแผนของการผ่อนคลายอย่างค่อยเป็นค่อยไปในวันอังคารโดยคาดว่าจะเริ่มกลางเดือนพฤษภาคม

    ฝรั่งเศส :
    นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส Edouard Philippe เปิดตัวในวันอังคารที่ 28 เมษายนนี้ซึ่งเป็น "ยุทธศาสตร์ระดับชาติสำหรับแผนปลดล็อกดาวน์" ซึ่งจะเริ่มในวันที่ 11 พฤษภาคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเปิดโรงเรียนที่จะทยอยเปิดอีกครั้ง

    กรีก :
    รัฐบาลกรีซได้ขยายเวลาล็อกดาวน์ทั้งประเทศเพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดไวรัส Covid-19 จนถึงวันที่ 4 พฤษภาคม โดยคาดว่าการผ่อนคลายมีเพียงการเปิดศาลบางส่วนในวันจันทร์ เนื่องจากประชากรสูงอายุและระบบสุขภาพอ่อนแอลงจากวิกฤตการณ์ทางการเงินที่เรื้อรังมานานกว่าทศวรรษ กรีซจึงกำหนดข้อจำกัดเร็วกว่าประเทศอื่นในยุโรป ทำให้ได้รับผลกระทบน้อยกว่า จำนวนผู้เสียชีวิต 121 รายและผู้ป่วย 2,400 ราย ที่มีการบันทึกอย่างเป็นทางการ 

    อิตาลี :
    จะเริ่มเปิดโรงงานอีกครั้งในวันที่ 4 พฤษภาคมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการแยกแยะ รัฐบาลแจ้งว่าจะมีการพิจารณารายละเอียดเกี่ยวกับมาตรการปลดล็อกดาวน์ในวันนี้ แต่ได้ประกาศว่าโรงเรียนจะยังคงปิดจนถึงเดือนกันยายน

    โรมาเนีย :
    รัฐบาลระบุว่าการล็อกดาวน์หรือจำกัดเสรีภาพในการเคลื่อนไหวตั้งแต่กลางเดือนมีนาคมจะสิ้นสุดลงเมื่อสถานการณ์ฉุกเฉินยกเลิกในวันที่ 15 พฤษภาคม ปัจจุบันชาวโรมาเนียสามารถออกไปทำงาน ช็อปปิ้ง หรือไปพบแพทย์ หรือช่วยเหลือพ่อแม่ผู้สูงอายุ โดยจะต้องมีใบรับรองเท่านั้น บังคับให้ต้องสวมหน้ากากอนามัยในพื้นที่ปิดและระบบขนส่งสาธารณะตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคมจนถึงปีหน้า ขณะที่ประเทศโรมาเนียได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัส โควิด-19 น้อยกว่าประเทศในยุโรปหลายประเทศ 

    สโลวาเกีย :
    วิกฤติ Covid-19 ที่เกิดจากการแพร่ระบาดไวรัสในสโลวาเกียได้ตัดสินใจว่า การล็อกดาวน์จะผ่อนคลายใน 4 ขั้นตอน ร้านค้าขนาดใหญ่ถึง 300 ตารางเมตรสามารถเปิดได้ในวันที่ 22 เมษายนภายใต้เงื่อนไขด้านสุขอนามัยที่เข้มงวด กีฬาที่ไม่มีการสัมผัสใกล้ชิดจะได้รับอนุญาตอีกครั้งตั้งแต่วันนี้

    อย่างไรก็ตามนักกีฬาไม่สามารถใช้ห้องน้ำเดียวกันหรือห้องเปลี่ยนเสื้อผ้าร่วมกันได้ ตลาดกลางเปิดได้อีกครั้ง ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ได้รับอนุญาตให้ทำงานได้โดยไม่จำกัดพื้นที่ รถแท็กซี่จะได้รับอนุญาตให้บริการจากระยะที่สองและจะต้องมีฉากกั้นระหว่างคนขับกับผู้โดยสาร บริการทางศาสนาและงานแต่งจะได้รับอนุญาต หากเคารพระยะห่างทางสังคมและผู้เข้าร่วมสวมหน้ากาก

     

    แล้วสหภาพยุโรปละ ทำอะไรบ้าง?

    ต้องพูดก่อนเลยนะครับว่าประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ทั้ง 3 แห่งคือ สหรัฐฯ เยอรมนี และฝรั่งเศส ได้ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่สายการบินต่าง ๆ ซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมแรก ๆ ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 การรับมือของสหภาพยุโรป ก็สัมพันธ์กับของฝรั่งเศสและเยอรมนี ซึ่งผู้นำของทั้งสองชาติเป็นกุญแจสำคัญในการผลักดันให้มีการรับมือ แม้ว่าประเทศอื่น ๆ อย่างสเปนและอิตาลี จะเป็นชาติที่ได้รับผลประโยชน์หลัก มาตรการรับมือของสหภาพยุโรปมีมูลค่ามากกว่า 5 แสนล้านยูโร (ประมาณ 1.7 หมื่นล้านบาท) มีมาตรการที่ออกมาเพื่อช่วยเหลือประเทศที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากวิกฤตด้านสาธารณสุขครั้งนี้โดยเฉพาะ รวมถึงการช่วยเหลือบุคคลและบริษัทต่าง ๆ ทำให้มีส่วนช่วยพนักงานและการจ้างงาน แต่ก็ยังมีการโต้เถียงกันทางการเมืองว่า การช่วยเหลือประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรป จะอยู่ในรูปของเงินให้เปล่าหรือเงินกู้

    มีการผ่อนคลายกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ของสหภาพยุโรปที่กำหนดเรื่องการเงินของรัฐบาล (ปกติจะจำกัดการกู้ยืม) และการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ภาคธุรกิจ (การกำหนดว่าความช่วยเหลือภาครัฐจะต้องช่วยยุติความได้เปรียบทางการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม) เพื่อให้ประเทศสมาชิกมีความยืดหยุ่นมากขึ้นในการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจของตัวเอง และนี่ก็เป็นภาพรวมของแต่ละประเทศที่อยู่ในสหภาพยุโรปภายหลังจากที่เหตุการณ์การแพร่เชื้อระบาดของไวรัสโควิด-19 ว่าแต่ละประเทศนั้นเป็นอย่างไรกันบ้าง สำหรับวันนี้ อย่าลืมนะครับ หากมีข้อสงสัยหรือคำแนะนำอะรสามารถติดต่อมาที่เพจของเราได้เลยนะครับ นึกถึงข้อมูลความรู้เกี่ยวกับนึกถึง Thaiforex Review ของเรานะครับ. 

    investing

    แนะนำโบรกเกอร์สำหรับคุณ

    ข้อจำกัดด้านความปลอดภัย

    Thaiforexreview.com จะไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียหรือความเสียหายใด ๆ
    ที่เกิดจากการพึ่งพาข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้ รวมถึงข่าวการตลาด การวิเคราะห์ สัญญาณการซื้อขาย และบทวิจารณ์โบรกเกอร์ Forex ข้อมูลที่อยู่ในเว็บไซต์นี้อาจไม่เป็นปัจจุบัน และการวิเคราะห์เป็นความคิดเห็น ของ Thaiforexreview.com ไม่มีการการันตีใด ๆ

    การซื้อขายสกุลเงินในตลาด Forex มีความเสี่ยงสูง ก่อนตัดสินใจซื้อขาย Forex หรือใช้เครื่องมือทางการเงินอื่น ๆ ควรพิจารณาวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงอย่างรอบคอบ เรามุ่งเน้นเพื่อเสนอข้อมูล ที่สำคัญเกี่ยวกับโบรกเกอร์ทั้งหมดที่เราตรวจสอบเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องที่สุด

    © Copyright Thaiforexreview 2023. All rights reserved