List of content

    ออสเตรเลียผงาด หนทางข้างหน้าอาจไม่ต้องพึ่งจีน


    ออสเตรเลียผงาด หนทางข้างหน้าอาจไม่ต้องพึ่งจีน

    ออสเตรเลียผงาด หนทางข้างหน้าอาจไม่ต้องพึ่งจีน.

    ..................................................................................................................

    ในช่วงนี้ใครหลายๆคนคงได้ยินข่าวเกี่ยวกับประเทศจีนบ่อยครั้ง แต่อาจจะไม่ค่อยได้ยินข่าวคราวของประเทศออสเตรเลียกับจีน เพราะความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศเป็นไปด้วยดีเรียกได้ว่าน้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่าโดยเป็นอย่างเรื่อยๆ จึงไม่ค่อยมีข่าวคราวออกมามากนัก และแล้วก็ถึงเวลาที่ออสเตรเลียต้องเปลี่ยนความคิดกับจีน ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา ทั้งภาคการเมืองและธุรกิจมีเป้าหมายสูงสุดคือ การปกป้องและขยายการส่งออกทรัพยากรธรรมชาติแก่จีน ซึ่งกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ทั้งแร่เหล็ก, ถ่านหิน, ก๊าซธรรมชาติ, ไวน์ และอื่นๆ ซึ่งทำให้ออสเตรเลียไม่เคยเผชิญภาวะเศรษฐกิจถดถอยเลยแม้แต่ครั้งเดียวนานถึง 29 ปีติดต่อกัน จนกระทั่งไวรัสโควิด-19 ระบาดทั่วโลกในปี 2563 รัฐบาลออสเตรเลียทำทุกอย่างโดยมุ่งเน้นเรื่องการ รักษาสมดุล ระหว่างความสัมพันธ์ทางการค้ากับจีน กับความเป็นพันธมิตรทางทหารกับสหรัฐฯ ที่มีความสำคัญไม่แพ้กัน

    แต่มุมมองที่ออสเตรเลียมีต่อจีนในรัฐบาลของ นายกรัฐมนตรี สกอต มอร์ริสัน เปลี่ยนไปอย่างมาก โดยแหล่งข่าวหลายคนในรัฐบาลแคนเบอร์ราบอกกับสำนักข่าวรอยเตอร์ว่า ความสัมพันธ์นั้นไม่ได้ก่อร่างด้วยการค้าเพียงอย่างเดียวอีกต่อไปแล้ว หากแต่รวมไปถึงมุมมองที่ว่า “จีนมีความเสี่ยงเป็นภัยคุกคามต่อประชาธิปไตยและอธิปไตยของออสเตรเลีย” เข้าไปด้วย

    ตอนนี้การหารือเกี่ยวกับจีนภายในรัฐบาลของนายมอร์ริสัน พูดถึงแต่เรื่องความจำเป็นในการรักษาอธิปไตยและขัดขวางความพยายามของจีนที่จะครอบงำนโยบายของออสเตรเลีย ตัวอย่างที่สะท้อนความคิดนี้อย่างชัดเจนคือ เมื่อไม่นานมานี้ นายมอร์ริสันเพิ่งออกมาเตือนชาวออสเตรเลีย เรื่องการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของการโจมตีทางไซเบอร์, ออกมาตรการตรวจสอบความมั่นคงแห่งชาติสำหรับการลงทุนของต่างชาติ และเพิ่มงบประมาณด้านกลาโหมอย่างก้าวกระโดด โดยมุ่งเน้นในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ซึ่งนายมอร์ริสันไม่ได้เอ่ยถึงจีนตอนออกนโยบายเหล่านี้ แต่เจ้าหน้าที่รัฐบาลระบุว่า นี่เป็นการตอบโต้ความเคลื่อนไหวของจีน ออสเตรเลียยังเพิ่งออกมาแสดงความกังวล เรื่องที่พวกเขามองว่าเป็นความพยายามของจีน เพื่อบ่อนทำลายประชาธิปไตย รวมทั้งประกาศระงับสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนกับฮ่องกง หลังจากแดนมังกรบังคับใช้กฎหมายความมั่นคงแห่งชาติในเมืองแห่งนี้ และออกประกาศร่วมกับสหประชาชาติ ปฏิเสธการอ้างเป็นเจ้าของพื้นที่ในทะเลจีนใต้ของรัฐบาลปักกิ่ง

    ฟางเส้นสุดท้าย ทำจีนโมโหสุดขีด ในบรรดามาตรการต่างๆ ที่ออสเตรเลียใช้เพื่องัดข้อกับจีนในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา สิ่งที่ทำให้แดนมังกรโกรธเกรี้ยวที่สุดคือ การที่ออสเตรเลียออกมาล็อบบี้ผู้นำโลกให้มีการไต่สวนต้นตอการระบาดทั่วโลกของไวรัสโควิด-19 เมื่อเดือนเมษายน ซึ่งทั่วโลกต่างหนุนหลังข้อเสนอนี้ มีออกมติซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก 137 ประเทศ ที่การประชุมสมัชชาสาธารณสุขโลก ให้สืบสวนเรื่องการระบาด ซึ่งเกิดขึ้นครั้งแรกในเมืองอู่ฮั่นของจีน ซึ่งในที่สุดรัฐบาลปักกิ่งก็ต้องจำยอมสนับสนุนมตินี้ด้วย จนมีการก่อตั้งคณะกรรมการอิสระ นำโดยนางเฮเลน คลาร์ค อดีตนายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ กับนายเอลเลน จอห์นสัน เซอร์ลีฟ อดีตประธานาธิบดีไลบีเรีย และคณะกรรมการนี้จะเผยผลการตรวจสอบขั้นต้นในเดือนพฤศจิกายน

    แน่นอนว่า จีนต้องตอบโต้ออสเตรเลียอย่างหนัก พวกเขาบังคับใช้มาตรการคว่ำบาตรการค้ากับออสเตรเลีย ระงับการนำเข้าเนื้อบางประเภท และตั้งกำแพงภาษีนำเข้าข้าวบาร์เลย์ไว้สูงลิ่วที่ 80.5% รัฐบาลปักกิ่งยังเริ่มการสืบสวนการทุ่มตลาดในการส่งออกไวน์ของออสเตรเลียด้วย ต่อมาในเดือนสิงหาคม 

    ความสัมพันธ์ระหว่างออสเตรเลียกับจีนเริ่มเสื่อมลงตั้งแต่ รอยเตอร์ได้พูดคุยกับเจ้าหน้าที่รัฐบาลออสเตรเลียในอดีตและปัจจุบันจำนวน 19 คน และอดีตนายกรัฐมนตรี 2 คน เกี่ยวกับเรื่องนี้ ซึ่งพวกเขาเผยว่า ออสเตรเลียเริ่มเปลี่ยนมุมมองที่มีต่อจีนมาตั้งแต่ปี 2560 ก่อนที่ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับจีน จะดิ่งลงเหว จนเกือบทำให้เกิดสงครามเย็นรอบใหม่

    ส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งนี้คือ เจ้าหน้าที่กลุ่มเล็กๆ กลุ่มหนึ่ง ซึ่งหลายคนเคยเป็นเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงหรือการข่าวกรอง ที่กังขาความเป็นผู้นำและความทะเยอทะยานของจีนอย่างลึกล้ำ ถึงขั้นก่อกำเนิดกลุ่มสายเหยี่ยวต่อต้านจีนที่ชื่อ ‘เดอะ วูล์ฟเวอรีน’ ขึ้นในรัฐสภา

    ออสเตรเลีย เสี่ยงเดิมพัน ใช้ “เหล็ก” คานอำนาจจีน ความขัดแย้งกับจีนที่รัฐบาลมอร์ริสันเผชิญอยู่ตอนนี้ ถูกปูมาตั้งแต่ตอนที่เขาเดินทางเยือนกรุงปักกิ่งในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในปี 2560 แล้ว โดยการเดินทางครั้งนั้นทำให้เขาเชื่อว่า การค้าระหว่างออสเตรเลียกับชาติเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 2 ของโลกแห่งนี้ เป็นการได้ประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย นายมอร์ริสันบอกกับกลุ่มผู้สื่อข่าวในตอนนั้นด้วยว่า เขาได้ยินเจ้าหน้าที่จีนพูดว่า การส่งออกแร่เหล็กคุณภาพสูง ทำให้ออสเตรเลียอยู่ในสถานะที่ไม่เหมือนใครนายมอร์ริสันย้ำเรื่องนี้ในการตอบคำถามทางจดหมายของรอยเตอร์ว่า “นี่คือความสัมพันธ์ที่ได้ประโยชน์ร่วมกัน เศรษฐกิจจีนแข็งแกร่งขึ้นเพราะพวกเขาเข้าถึงพลังงานคุณภาพสูง, ทรัพยากร, ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร และบริการที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากออสเตรเลีย และเศรษฐกิจของเราก็เข้มแข็งขึ้นเพราะเราเข้าถึงสินค้าคุณภาพสูงจากจีน” จนถึงตอนนี้ จีนยังไม่เคยพูดถึงการใช้ แร่เหล็ก ในการตอบโต้ออสเตรเลีย เหตุผลก็คือ จีนนำเข้าเหล็กจากออสเตรเลียมากถึง 60% ของเหล็กทั้งหมดที่พวกเขานำเข้า และแร่เหล็กยังเป็นตัวขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจที่สำคัญสำหรับจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่พวกเขาพยายามฟื้นฟูขีดความสามารถทั้งหมดกลับมา หลังถูกไวรัสโควิด-19 เล่นงาน

    นายมัลคอล์ม เทิร์นบูล อดีตนายกรัฐมนตรีช่วงปี 2558-2561 ซึ่งเป็นยุคที่ความสัมพันธ์ระหว่างออสเตรเลียกับจีนเปราะบางสุดๆ กล่าวว่า แม้จีนจะโกรธแค่ไหน แต่พวกเขาก็ยังต้องการออสเตรเลีย ถ้าจีนบังเอิญไปเจอแหล่งจัดหาแร่เหล็กขนาดใหญ่ คุณภาพอยู่ในระดับที่เหมาะสม ราคาเท่าคู่แข่ง พวกเขาก็คงคว้าเอาไว้ แต่มันไม่มี บริษัทจีนไม่ได้ซื้อสินค้าจากออสเตรเลียเพราะต้องการช่วยเหลือ แต่พวกเขาทำเพราะของคุณภาพดีและมีคุณค่า

    จริงอยู่ว่า จีนหาตัวแทนออสเตรเลียในการซื้อแร่เหล็กได้ยากมาก แต่นายเควิน รัดด์ อดีตนายกรัฐมนตรีออสเตรเลียอีกคนก็ออกมาวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลของนายมอร์ริสันว่า กำลังสร้างวิกฤตการณ์กับจีน “จีนไม่มีวันออกมาตรการทางเศรษฐกิจต่อออสเตรเลียที่จะสร้างความเสียหายต่อผลประโยชน์ของพวกเขาเอง แต่ออสเตรเลียมีจุดอ่อนหลายอย่าง ออสเตรเลียส่งออกให้จีนมากกว่าแร่เหล็ก และรัฐบาลปักกิ่งอาจเล็งเล่นงานในจุดนั้น” ทูตกับเจ้าหน้าที่รัฐบาลจีนบอกกับรอยเตอร์ว่า ตอนที่การระบาดทั่วโลกของไวรัสโควิด-19 เกิดขึ้น ออสเตรเลียก็ตัดสินใจที่จะหาทางรับมือรัฐบาลจีนภายใต้ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ที่กำลังมีอำนาจมากขึ้นเรื่อยๆ และเรื่องลดการพึ่งพาทางการค้ากับจีน ซึ่งจะมีผลกับพวกเขาในระยะยาวแล้ว

    การระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้รอยร้าวระหว่างออสเตรเลียกับจีนถูกเปิดเผยออกมาอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ในอดีตจีนก็เคยใช้มาตรการลงโทษทางเศรษฐกิจกับออสเตรเลีย แต่เป็นมาตรการเช่น กักสินค้าอย่างแร่เหล็กหรือไวน์ไว้ที่ท่าเรือต่างๆ ซึ่งถูกกลบเกลื่อนว่าเป็นความขัดข้องทางเทคนิคด้านศุลกากร

    แต่ตอนนี้ จีนประกาศคว่ำบาตรออสเตรเลียตรงๆ รวมทั้งเตือนนักเรียนนักศึกษาไม่ให้ไปเรียนที่ออสเตรเลีย เสี่ยงกระทบตลาดนักศึกษาต่างชาติ มูลค่า 2.75 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ของแดนจิงโจ้ ซึ่งนายมอร์ริสันก็ตอบโต้กลับด้วยถ้อยคำรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีว่า “เราเป็นประเทศเปิดกว้างทางการค้า สหาย แต่ผมจะไม่ขายค่านิยมของเรา ไม่ว่าจะถูกบีบบังคับจากที่ใดก็ตาม” ปัญหาระหว่างออสเตรเลียกับจีนทำให้ความรู้สึกที่สังคมมีต่อแดนมังกรตกต่ำลงอย่างมาก ผลสำรวจของสถาบันโลวี กลุ่มวิจัยนโยบายต่างประเทศ ซึ่งเผยแพร่ในเดือนมิถุนายนพบว่า ความเชื่อใจประเทศจีนในกลุ่มชาวออสเตรเลียลดลงเหลือเพียง 23% จาก 52% ในปี 2561 และ 94% สนับสนุนให้ลดการพึ่งพาทางเศรษฐกิจกับจีน ขณะที่แนวทางของรัฐบาลที่จะเข้าหาประเทศอื่นๆ เพื่อรับมือกับจีนก็ได้รับการสนับสนุนจากทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน

    หาตลาดอื่นลดพึ่งพาการค้ากับจีน ไม่ใช่เรื่องง่าย จีนถือเป็นหุ้นส่วนทางการค้ารายใหญ่ที่สุดของออสเตรเลีย คิดเป็น 32.6% ของการส่งออกทั้งหมด คิดเป็นมูลค่า 1.72 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เกินดุลถึง 5.1 หมื่นดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อ 2 ปีก่อน ซึ่งเป็นที่ถกเถียงกันมาอย่างยาวนานว่า ออสเตรเลียพึ่งพาจีนมากเกินไป และควรหาหุ้นส่วนการค้าอื่นๆ บ้าง

    ดร. ไล-ฮา ชาน นักรัฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ในนครซิดนีย์ ระบุว่า ออสเตรเลียจำเป็นต้องเสริมสร้างความสัมพันธ์ประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียอย่างยิ่งยวด ซึ่งความพยายามที่ว่าเริ่มขึ้นแล้ว โดยนายมอร์ริสันพบผู้นำอินเดียผ่านวิดีโอคอลล์เมื่อเดือนมิถุนายน หลังจากเมื่อปีก่อนเขาเพิ่งกลายเป็นผู้นำออสเตรเลียคนแรกที่ไปเยือนเวียดนามในรอบ 25 ปี ซึ่งถือเป็นการแสดงความยอมรับการเข้ามีมาบทบาทของเวียดนามในฐานะตลาดเศรษฐกิจ ภาคการท่องเที่ยวและการศึกษาของออสเตรเลียยังดึงดูดนักเรียนจากทั้ง 2 ประเทศได้อย่างต่อเนื่องด้วย ชายคนหนึ่งรับชมการแถลงของนาย นเรนทรา โมดี นายกรัฐมนตรีอินเดีย ระหว่างการประชุมสุดยอดผ่านทางวิดีโอคอลล์ กับสกอต มอร์ริสัน นายกรัฐมนตรีออสเตรเลียเมื่อ 4 มิ.ย. 2563

    ชายคนหนึ่งรับชมการแถลงของนาย นเรนทรา โมดี นายกรัฐมนตรีอินเดีย ระหว่างการประชุมสุดยอดผ่านทางวิดีโอคอลล์ กับสกอต มอร์ริสัน นายกรัฐมนตรีออสเตรเลียเมื่อ 4 มิ.ย. 2563

    ดร.ชานแนะว่า ออสเตรเลียควรพึ่งพาทั้ง 2 ประเทศนี้ร่วมกับ อินโดนีเซีย, ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ เพื่อลดการพึ่งพาประเทศจีน อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์หลายคนโต้แย้งว่า จีนไม่ใช่ตลาดที่จะแทนที่ได้ง่ายๆ แม้อินเดียจะมีศักยภาพ แต่ออสเตรเลียวางเป้าหมายจะส่งออกสินค้าสู่แดนภารตะให้ได้ปีละ 3.1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภายในปี 2578 แต่พวกเขาส่งออกให้จีนเพียงชาติเดียวมากกว่า 1.5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อปีก่อน

    ศ. เจน กอลลีย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจจีน จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย กล่าวว่า ไม่มีทางเลือกอื่นใดที่ใกล้เคียงและสามารถทดแทนมูลค่าการค้ากับจีนได้ และว่าการเรียกร้องจากนักวิเคราะห์ด้านความมั่นคง ให้ประเทศปฏิเสธจีน ซึ่งพาดหัวตามสื่อต่างๆ เป็นเรื่องน่าเศร้า “ฉันสงสัยว่า คนที่เดินบนท้องถนนที่อ่านพาดหัวเหล่านี้ แล้วคิดว่า เราควรแยกจากจีน เขาคิดดีแล้วหรือเปล่าว่ามันหมายความว่าอย่างไร และมันอาจจะทำให้พวกเขาหรือลูกๆ ของพวกเขาไม่มีงานทำในอนาคตได้หรือไม่”ทั้งหมดนี้ส่งผลให้เกิดความสัมพันธ์แบบ “นิว นอร์มอล” ตอนนี้ยังเร็วเกินไปที่จะตอบว่า ออสเตรเลียจะสามารถลดการพึ่งพาการส่งออกสินค้าสู่ประเทศจีนได้อย่างที่หวังหรือไม่ แต่นายมอร์ริสันยืนยันว่าพวกเขาไม่ได้ต้องการเป็นศัตรูกับจีน “เราแค่เป็นชาวออสเตรเลีย เราไม่ได้ทำอะไรหรือหาทางทำอะไรที่ไม่สอดคล้องกับค่านิยมของเรา หรือหาทางทำอะไรที่เป็นศัตรูกับความเป็นหุ้นส่วนของเรากับจีน” ขณะที่นายริชาร์ด มอว์ด อดีตหัวหน้าฝ่ายนโยบายต่างประเทศของรัฐบาลออสเตรเลีย ซึ่งเพิ่งออกจากตำแหน่งเมื่อปีก่อนระบุว่า ออสเตรเลียไม่ได้เปลี่ยนไป แต่จีนเปลี่ยนแปลงตั้งแต่รากฐาน รัฐบาลปักกิ่งมีความอหังการและมีอำนาจมากขึ้น ออสเตรเลียก็เหมือนชาติประชาธิปไตยอื่นๆ ที่ไม่สามารถมองข้ามความเป็นจริงทางการเมืองเพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจได้อีก 

    อย่างไรก็ตามเรื่องราวความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับออสเตรเลียยังคงตึงเครียดและมีแนวโน้มที่จะทวีคูณความรุนแรงมากขึ้นไปเรื่อยๆ ถึงกระนั้นจะบอกว่าไกลตัวเรามั้ย? ก็ขอตอบว่าไม่ใกล้ไม่ไกลนะครับ เพราะตัวอย่างเหตุการณืที่เกิดขึ้นนี่เป็นตัวอย่างที่ประเทศจีนกระทำกับประเทศประชาธิปไตยอย่างประเทศออสเตรเลีย ซึ่งมีรูปแบบการปกครองแบบเดียวกับประเทศไทยของเรา ท้ายนี้ขอบตุณที่อ่านจนจบนะครับ อย่าลืมนะครับถ้ามีข้อเสนอแนะอยากให้เราเขียนเรื่องอะไรหรือติชมบทความของเราสามารถทักมาที่เพจของเราได้นะครับ ทีมงานเราพร้อมตอบแทบจะ 24 ชม.เลยก็ว่าได้ครับ 

    .

    .

    ศึกษาข้อมูลการลงทุนเกี่ยวกับฟอเร็กได้ที่ www.thaiforexreview.com

    investing

    แนะนำโบรกเกอร์สำหรับคุณ

    ข้อจำกัดด้านความปลอดภัย

    Thaiforexreview.com จะไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียหรือความเสียหายใด ๆ
    ที่เกิดจากการพึ่งพาข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้ รวมถึงข่าวการตลาด การวิเคราะห์ สัญญาณการซื้อขาย และบทวิจารณ์โบรกเกอร์ Forex ข้อมูลที่อยู่ในเว็บไซต์นี้อาจไม่เป็นปัจจุบัน และการวิเคราะห์เป็นความคิดเห็น ของ Thaiforexreview.com ไม่มีการการันตีใด ๆ

    การซื้อขายสกุลเงินในตลาด Forex มีความเสี่ยงสูง ก่อนตัดสินใจซื้อขาย Forex หรือใช้เครื่องมือทางการเงินอื่น ๆ ควรพิจารณาวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงอย่างรอบคอบ เรามุ่งเน้นเพื่อเสนอข้อมูล ที่สำคัญเกี่ยวกับโบรกเกอร์ทั้งหมดที่เราตรวจสอบเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องที่สุด

    © Copyright Thaiforexreview 2023. All rights reserved