List of content

    Pending Order คืออะไร? พร้อมเทคนิคการดู สามารถนำไปปรับใช้ได้เลย!


    Pending Order คืออะไร? พร้อมเทคนิคการดู สามารถนำไปปรับใช้ได้เลย!

    Pending Order คืออะไร? สามารถเป็นตัวช่วยเสริมกลยุทธ์ในการทำกำไรได้จริงหรือไม่ วันนี้ทีมงาน Thaiforexreview จะพาไปทำความรู้จักประเภทการส่งคำสั่งซื้อขายยอดนิยมอย่าง Pending Order ว่ามีการทำงานอย่างไร เพราะสิ่งแรก ๆ ที่ควรรู้ก่อนเริ่มเทรดในตลาด Forex คือ การศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับกลไกการทำงานของตลาดและปัจจัยพื้นฐานของคู่เงิน 

    Pending Order คืออะไร?

    Pending Order คือ หนึ่งในประเภทของ Order ทำหน้าที่เป็นตัวช่วยในการส่งคำสั่งซื้อขายล่วงหน้าให้กับเทรดเดอร์ ณ ราคาใดราคาหนึ่งที่เทรดเดอร์กำหนดไว้ แม้ว่าเทรดเดอร์จะไม่ได้อยู่เฝ้าหน้าจอ แต่เทรดเดอร์ก็จะไม่พลาดโอกาสสำคัญในการเทรด ซึ่ง Pending Order จะทำงานและส่งคำสั่งซื้อขายตามที่เทรดเดอร์ต้องการ แต่หากไม่ครบตามเงื่อนไข คำสั่งก็จะไม่ถูกเปิดใช้งานครับ

    ประเภทของ Pending Order

    Pending Order มีคำสั่งแยกไปอีก 2 ประเภท คือ Limit Order และ Stop Order ซึ่งก็จะมีการใช้งานที่ต่างกันใน 2 คำสั่ง ดังนี้

    ประเภทของ Pending Order

    Limit Order คืออะไร?

    Limit Order คือ การส่งคำสั่งซื้อขายที่เทรดเดอร์สามารถกำหนดราคาที่ต้องการจะซื้อหรือขายได้ โดยคำสั่งซื้อขายจะจับคู่ก็ต่อเมื่อราคาสินทรัพย์หรือคู่เงินในตลาด Forex เคลื่อนที่ไปถึงราคาที่เทรดเดอร์คาดหวังและตั้งคำสั่งไว้ 

    การส่งคำสั่งซื้อขายแบบ Limit Order

    • เข้า Order Buy ในราคาที่ต่ำกว่าราคาปัจจุบัน เพื่อทำกำไรเมื่อคู่เงินมีการปรับตัวสูงขึ้น
    • เข้า Order Sell ในราคาที่สูงกว่าราคาปัจจุบัน เพื่อทำกำไรเมื่อคู่เงินมีการปรับตัวต่ำลง

    Buy Limit คืออะไร?

    Buy Limit คือ การตั้ง Pending Order โดยคาดหวังคำสั่งซื้อ (Buy Position) เพื่อให้ได้ราคาที่ดีที่สุดและเทรดเดอร์เป็นคนกำหนดราคาเอง เพื่อทำกำไรเมื่อราคาสินทรัพย์มีการปรับตัวสูงขึ้น

    ตัวอย่างเช่น คู่เงิน USD/JPY เทรดเดอร์คาดการณ์ว่า คู่เงินดังกล่าวจะมีแนวโน้มเป็นขาขึ้นในอนาคต แต่ ณ เวลาปัจจุบันราคาคู่เงินอยู่ที่ 144.883 เทรดเดอร์จะรอซื้อที่ราคาดี ๆ ที่ต่ำกว่าราคาปัจจุบันก่อน ซึ่งในการวิเคราะห์ ราคาที่ควรเข้าซื้อ คือ 135.000 นั่นหมายความว่า เราจะตั้งคำสั่ง Buy Limit ที่จุด 135.000 ดังนั้น หากราคามีการเคลื่อนที่ลงมาถึงจุด 135.000 คำสั่งซื้อของเทรดเดอร์ก็จะส่งผลในทันที

    ในทางตรงกันข้าม หากราคาไม่ได้เคลื่อนที่ลงมาถึงจุดที่เทรดเดอร์ตั้งไว้ คำสั่งดังกล่าวก็จะไม่ทำงาน เพราะถือว่าไม่ครบตามเงื่อนไขครับ

    Buy Limit คืออะไร?

    Sell Limit คืออะไร?

    Sell Limit คือ การตั้ง Pending Order โดยคาดหวังคำสั่งขาย (Sell Position) เพื่อให้ได้ราคาที่ดีที่สุดและเทรดเดอร์เป็นคนกำหนดราคาเอง เพื่อทำกำไรเมื่อราคาสินทรัพย์มีการปรับตัวลดลง

    ตัวอย่างเช่น คู่เงิน USD/JPY เทรดเดอร์คาดการณ์ว่า คู่เงินดังกล่าวจะมีแนวโน้มขาลงในอนาคต แต่ ณ เวลาปัจจุบันราคาคู่เงินอยู่ที่ 148.938 เทรดเดอร์จะรอออกออเดอร์ที่ราคาดี ๆ ที่สูงกว่าราคาปัจจุบันก่อน ซึ่งในการวิเคราะห์ ราคาที่ควรออกออเดอร์ คือ 160.000 นั่นหมายความว่า เราจะตั้งคำสั่ง Sell Limit ที่จุด 160.000 ดังนั้น หากราคามีการเคลื่อนที่ขึ้นมาถึงจุด 160.000 คำสั่งของเทรดเดอร์ จะทำการเปิดออเดอร์ Sell ให้เราในทันที

    ในทางตรงกันข้าม หากราคาไม่ได้เคลื่อนที่ขึ้นไปถึงจุดที่เทรดเดอร์ตั้งไว้ คำสั่งดังกล่าวก็จะไม่ทำงาน เพราะถือว่าไม่ครบตามเงื่อนไขครับ

    Sell Limit คืออะไร?

    Stop Order คืออะไร?

    Stop Order คือ การส่งคำสั่งซื้อขายที่เทรดเดอร์สามารถกำหนดราคาที่ต้องการจะซื้อหรือขายได้ โดยคำสั่งซื้อขายจะจับคู่ก็ต่อเมื่อราคาสินทรัพย์หรือคู่เงินในตลาด Forex เคลื่อนที่ไปถึงราคาที่เทรดเดอร์คาดหวัง การใช้คำสั่ง Stop Order แสดงถึงเทรดเดอร์คาดหวังว่าสินทรัพย์หรือคู่เงินในตลาด Forex จะวิ่งต่อ

    การส่งคำสั่งซื้อขายแบบ Stop Order

    • การตั้ง Buy Stop จะตั้งสูงกว่าราคาปัจจุบัน เนื่องจากคาดการณ์ว่าเมื่อได้ออเดอร์ราคาจะเคลื่อนที่ไปต่อในทิศทางที่สูงขึ้น
    • การตั้ง Sell Stop จะเปิด Position ต่ำกว่าราคาปัจจุบัน เนื่องจากคาดการณ์ว่าราคาสินทรัพย์หรือคู่เงินในตลาด Forex จะมีราคาลดลงเรื่อย ๆ ครับ

    Buy Stop คืออะไร?

    Buy Stop คือ การตั้ง Pending Order โดยคาดหวังคำสั่งซื้อ (Buy Position) เพื่อให้ได้ราคาที่แม่นยำที่สุด เพื่อทำกำไรเมื่อราคาสินทรัพย์มีการปรับตัวสูงขึ้น

    ตัวอย่างเช่น คู่เงิน USD/JPY เทรดเดอร์คาดการณ์ว่า คู่เงินดังกล่าวจะมีแนวโน้มขาขึ้นในอนาคต แต่ ณ เวลาปัจจุบันราคาคู่เงินอยู่ที่ 143.458 เทรดเดอร์จะรอราคาที่แม่นยำกว่านี้เพื่อยืนยันแนวโน้ม ซึ่งก็คือ 150.000 ดังนั้น เราจึงต้องตั้งคำสั่ง Buy Stop ที่จุด 150.000 ซึ่งหากราคามีการเคลื่อนที่ขึ้นไปถึงจุดดังกล่าว คำสั่งซื้อของเราก็จะทำการออกออเดอร์ Buy ให้เราในทันทีครับ
    ในทางตรงกันข้าม หากราคาไม่ได้เคลื่อนที่ขึ้นไปถึงจุดที่เทรดเดอร์ตั้งไว้ คำสั่งดังกล่าวก็จะไม่ทำงาน เพราะถือว่าไม่ครบตามเงื่อนไขครับ