List of content

    ตราสารอนุพันธ์ (Derivatives) คืออะไร? เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงของนักลงทุนจริงหรือ?


    ตราสารอนุพันธ์ (Derivatives) คืออะไร? เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงของนักลงทุนจริงหรือ?

    หากคุณต้องการป้องกันความเสี่ยงในการลงทุน คุณจะนึกถึงอะไรครับ? มีตราสารอนุพันธ์ (Derivatives) อยู่ในลิสต์หรือไม่ ในบทความนี้ ผมจะพาทุกท่านไปทำความรู้จักตราสารทางการเงินชนิดนี้กันครับว่า มันคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร มีความเสี่ยงหรือไม่ และเป็นเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงของนักลงทุนจริงหรือ?

     

     

    ตราสารอนุพันธ์คืออะไร?

    ตราสารอนุพันธ์ (Derivatives) คืออะไร? เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงของนักลงทุนจริงหรือ?

    ตราสารอนุพันธ์ (Derivatives) คือ สัญญาทางการเงินที่มีมูลค่าการซื้อขายขึ้นอยู่กับสินทรัพย์อ้างอิง (Underlying Asset) เช่น หุ้น, สินค้าโภคภัณฑ์, สกุลเงิน หรือดัชนี โดยบุคคล 2 ฝ่ายขึ้นไป สามารถตกลงซื้อขายตราสารอนุพันธ์ได้ผ่านสัญญาในรูปแบบการซื้อขายหลักทรัพย์นอกตลาดหลักทรัพย์ (OTC)

    ด้วยเหตุนี้ มูลค่าของตราสารอนุพันธ์จึงมีการเปลี่ยนแปลงตามสินทรัพย์อ้างอิงอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ตราสารอนุพันธ์จึงถูกใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงของราคาสินทรัพย์หรือวัตถุดิบที่ผู้ซื้อต้องการในอนาคต อีกแง่หนึ่ง มันยังถูกใช้เพื่อการเก็งกำไรของนักลงทุนด้วยครับ เพราะมันสามารถซื้อขายได้มากกว่าจำนวนที่มีอยู่จริง

    กระนั้น ตราสารอนุพันธ์ถือเป็นสัญญาทางการเงินที่คาดว่า มีต้นกำเนิดมาอย่างยาวนานและอาจมากกว่า 2,000 ปี เนื่องจากมีหลักฐานหลายอย่างที่ชี้ว่า มันปรากฏขึ้นทั้งในยุคเมโสโปเตเมีย, กรีก, โรมัน และยุโรป ก่อนจะแพร่หลายในปัจจุบันครับ เรียกว่า เกิดมาพร้อม ๆ กับการแลกเปลี่ยนซื้อขายของมนุษยชาติเลยล่ะครับ

     

     

    ตราสารอนุพันธ์มีอะไรบ้าง?

     

    ตราสารอนุพันธ์ส่วนใหญ่ในตลาดจะมี 4 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้ครับ

    ตราสารอนุพันธ์ (Derivatives) คืออะไร? เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงของนักลงทุนจริงหรือ?

    1. Futures

    ตราสารอนุพันธ์ประเภทฟิวเจอร์ส (Futures) เป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีการซื้อขายในปัจจุบันและส่งมอบในอนาคต กล่าวคือ ผู้ซื้อและผู้ขายจะตกลงทำสัญญาโดยยึดเอาราคาของสินทรัพย์ ณ วันที่ทำสัญญาเป็นหลัก จากนั้น ผู้ขายจะต้องส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อในอนาคตตามช่วงเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา

    1. Forwards

    ตราสารอนุพันธ์ประเภทฟอร์เวิร์ด (Forwards) เป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีความคล้ายคลึงกับ Futures แต่สิ่งที่แตกต่างกัน คือ Forwards จะซื้อขายสัญญานอกตลาดหลักทรัพย์ (OTC) ทำให้ผู้ซื้อและผู้ขายสามารถปรับแต่งข้อกำหนดของสัญญา รวมถึงกระบวนการชำระเงินได้ ทำให้ Forwards มีความเสี่ยงสูงขึ้น

    1. Swaps

    ตราสารอนุพันธ์ประเภทสว็อป (Swaps) เป็นสัญญาแลกเปลี่ยนกระแสเงินสดในอนาคต กล่าวคือ ผู้ทำสัญญามีการตกลงที่จะแลกเปลี่ยนภาระระหว่างกันในอนาคตตามที่ระบุไว้ในสัญญา โดยฝ่ายหนึ่งจะจ่ายด้วยอัตราลอยตัว ขณะที่อีกฝ่ายจะจ่ายด้วยอัตราคงที่ สินทรัพย์ที่ถูกนำมาแลกเปลี่ยนส่วนใหญ่ คือ อัตราดอกเบี้ย และเงินตราต่างประเทศ

    1. Options

    ตราสารอนุพันธ์ประเภทออปชัน (Options) เป็นสิทธิ์ในการซื้อขายสินทรัพย์อ้างอิง โดยผู้ขายจะขายสัญญาสิทธิ์ซื้อ (Call Option) หรือสิทธิ์ขาย (Put Option) ให้แก่ผู้ซื้อสัญญา ซึ่งผู้ซื้อจะต้องจ่ายค่าพรีเมียม (Premium) ในการซื้อสิทธิ์ แต่จะใช้สิทธิ์หรือไม่ก็ได้ อย่างไรก็ดี ผู้ขายสัญญามีหน้าที่ต้องเตรียมสินค้าไว้ หากผู้ซื้อขอใช้สิทธิ์

     

     

    ตราสารอนุพันธ์มีสินค้าอ้างอิงอะไรบ้าง?

     

    สินค้าหรือสินทรัพย์ที่ใช้อ้างอิง (Underlying Asset) ของตราสารอนุพันธ์ มีดังนี้

    ตราสารอนุพันธ์ (Derivatives) คืออะไร? เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงของนักลงทุนจริงหรือ?

    • ตราสารทุน เช่น หุ้น และดัชนีหุ้น

    • ตราสารหนี้ เช่น พันธบัตรรัฐบาล และอัตราดอกเบี้ย

    • สินค้าโภคภัณฑ์ เช่น พลังงาน, โลหะมีค่า และสินค้าทางการเกษตร

    • เงินตราและดัชนีราคา เช่น อัตราแลกเปลี่ยน, คาร์บอนเครดิต และดัชนีสินค้าโภคภัณฑ์

     

     

    ตราสารอนุพันธ์มีประโยชน์อย่างไร?

     

    ตราสารอนุพันธ์มีประโยชน์และความสำคัญต่อทั้งนักลงทุนและผู้ประกอบธุรกิจ ดังนี้

    ตราสารอนุพันธ์ (Derivatives) คืออะไร? เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงของนักลงทุนจริงหรือ?

    1. ประโยชน์ของตราสารอนุพันธ์ต่อนักลงทุน

    นักลงทุนจะได้รับประโยชน์จากการลงทุนในตราสารอนุพันธ์ในประเด็นดังต่อไปนี้ 

    • การป้องกันความเสี่ยง

    นักลงทุนรายย่อยสามารถลดการขาดทุนได้จากการซื้อตราสารอนุพันธ์ประกอบกับการซื้อสินทรัพย์จริง จากนั้น นำผลกำไรและขาดทุนมาถัวเฉลี่ยกัน แต่หากเป็นนักลงทุนระดับสถาบัน ตราสารอนุพันธ์ถือว่ามีความจำเป็นเป็นอย่างมาก เพราะมันจะช่วยกำหนดเงินที่ใช้ซื้อสัญญา และทำให้มั่นใจได้ว่า คุณจะได้รับสินค้าในราคานั้นจริง ไม่ว่าจะเกิดเหตุเปลี่ยนแปลงใดขึ้นครับ ถือเป็นการลดความผันผวนที่อาจเกิดขึ้น

    • การทำกำไรทั้งตลาดขาขึ้นและขาลง

    สินทรัพย์บางประเภทอาจทำกำไรได้เพียงตลาดขาขึ้น แต่หากเป็นการซื้อขายผ่านตราสารอนุพันธ์ นักลงทุนจะสามารถทำกำไรได้ทั้งตลาดขาขึ้นและขาลง ซึ่งเป็นประโยชน์มากในช่วงตลาดขาลงครับ

    • โอกาสในการเข้าถึงสินทรัพย์ต่าง ๆ 

    เนื่องจากตราสารอนุพันธ์มีสินทรัพย์อ้างอิงหลายประเภท ครอบคลุมตลาดต่าง ๆ อย่างมากมาย การซื้อขายสัญญาก็ใช้ต้นทุนน้อยกว่าการซื้อขายสินทรัพย์จริง เนื่องจากสามารถใช้ Leverage ในการซื้อขาย อีกทั้ง ยังสามารถวางเงินประกันส่วนหนึ่งของมูลค่าสัญญาได้ ทำให้นักลงทุนรายย่อยสามารถเข้าถึงสินทรัพย์ต่าง ๆ ได้ด้วยเงินที่จำกัด มีโอกาสสร้างผลตอบแทนได้มากกว่าสินทรัพย์นั้นโดยตรง

     

    ตราสารอนุพันธ์ (Derivatives) คืออะไร? เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงของนักลงทุนจริงหรือ?

    2. ประโยชน์ของตราสารอนุพันธ์ต่อผู้ประกอบธุรกิจ

    ตราสารอนุพันธ์มีประโยชน์ต่อผู้ประกอบธุรกิจ โดยเน้นไปที่ธุรกิจที่มีการนำเข้าและส่งออก คือ การเป็นเครื่องมือในการป้องกันความเสี่ยง เพราะผู้ประกอบธุรกิจส่วนมากมักจะมีการนำเข้าวัสดุหรือวัตถุดิบจากต่างประเทศ ทำให้ควบคุมค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ได้ยาก ด้วยปัจจัยที่อาจส่งผลต่อราคาสินค้าต่าง ๆ แต่ตราสารอนุพันธ์จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถควบคุมต้นทุนการซื้อขายสินค้า หรือแม้แต่อัตราดอกเบี้ย ณ วันที่ทำสัญญาได้ ทำให้สามารถคำนวณเงินที่ใช้จ่ายและหมุนเวียนภายในองค์กรต่อไปได้ครับ

     

     

    ความเสี่ยงของตราสารอนุพันธ์ 

     

    แม้ตราสารอนุพันธ์จะมีประโยชน์และความสำคัญเป็นอย่างมาก แต่เรามาดูความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นเมื่อลงทุนในตราสารอนุพันธ์กันครับ

    ตราสารอนุพันธ์ (Derivatives) คืออะไร? เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงของนักลงทุนจริงหรือ?

    1. ความเสี่ยงจากตลาด

    ความเสี่ยงประการแรกที่ผู้ซื้อสัญญาอาจเจอ คือ ความเสี่ยงจากตลาด ซึ่งเกิดจากความผันผวนของราคาสินทรัพย์เนื่องจากปัจจัยต่าง ๆ ทำให้ผลลัพธ์ที่คาดการณ์ไว้ลดลงหรืออาจสูญเสียไปทั้งหมด ดังนั้น การเพิ่มพูนความรู้ การติดตามข่าวสาร และการวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากครับ

    2. ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน

    ค่าเงินมีความผันผวนตลอดเวลา ทั้งแข็งค่าและอ่อนค่าจากปัจจัยต่าง ๆ บางปัจจัยก็ไม่สามารถคาดการณ์ได้ วันนี้แข็งค่า วันข้างหน้าก็อาจจะอ่อนค่าได้ครับ นั่นทำให้การซื้อขายแลกเปลี่ยนโดยใช้สกุลเงินต่างประเทศต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งตราสารอนุพันธ์ก็เช่นกัน ดังนั้น หากอัตราแลกเปลี่ยนมีการเปลี่ยนแปลงไป นั่นจึงหมายถึง เราต้องใช้เงินเพิ่มขึ้นหรือลดลงในการซื้อขาย ทำให้ส่งผลต่อกำไรขาดทุนต่อไปครับ

    3. ความเสี่ยงจากนโยบาย

    อีกประเด็นที่ไม่ควรมองข้าม คือ ความเสี่ยงจากนโยบาย เพราะมันอาจเกิดปัญหาอย่างการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่าง ๆ ทั้งทางเศรษฐกิจ, การเมือง, อัตราดอกเบี้ย หรือนโยบายอื่นใดที่อาจส่งผลติดต่อสัญญาตราสารอนุพันธ์ได้ครับ

    4. ความเสี่ยงจากคู่สัญญา

    นอกจากความเสี่ยงข้างต้นแล้ว คุณอาจจะเผชิญความเสี่ยงจากคู่สัญญาได้ ทั้งผลการดำเนินงาน, การเลิกกิจการ และการหลีกเลี่ยงสัญญา เป็นต้น สำหรับฝั่งผู้ขายสัญญาเองก็ต้องเผชิญความเสี่ยงจากความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ซื้อด้วยเช่นกัน

     

    สรุป

    โดยสรุปแล้ว ตราสารอนุพันธ์ก็คือ ตราสารทางการเงินชนิดหนึ่งที่ใช้สินทรัพย์อ้างอิงในการอ้างถึงมูลค่า ผู้ทำสัญญาสามารถซื้อขายตราสารอนุพันธ์ด้วยราคาขณะที่ทำสัญญา จากนั้นผู้ขายสัญญาค่อยส่งมอบสินค้าในอนาคต ซึ่งหลักการดังกล่าวจะช่วยให้คู่สัญญากำหนดมูลค่าของสินทรัพย์นั้น ๆ ได้ ไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์ใด ๆ ขึ้น ดังนั้น มันจึงถูกใช้เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการซื้อขายนั่นเองครับ

    แม้ว่านักลงทุนรายย่อยจะสามารถใช้ตราสารอนุพันธ์เพื่อลดผลขาดทุน ทำให้เข้าถึงสินทรัพย์ในตลาดต่าง ๆ ได้ด้วยต้นทุนที่ลดลง แต่การลงทุนย่อมมีความเสี่ยง โดยเฉพาะกับผู้ที่ไม่มีความรู้ ดังนั้น ผมจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ทุกท่านจะศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่จะลงทุนให้ดีก่อน เพราะมิฉะนั้น คุณอาจสูญเสียเงินทั้งหมดได้ครับ และอย่าลืมว่า สัญญาอนุพันธ์นั้นมีผลผูกพันจะไม่ทำตามไม่ได้ครับ

     

    Source : CFA Institute, Finnomena, Peerpower, ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 1, ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 2, บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย, สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และทันหุ้น

     


    ⚠️ การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน

     

    หากคุณมีความสนใจในเรื่องของการลงทุนเหมือนกันกับผม

    สามารถติดตามความรู้เกี่ยวกับ Forex ได้ทางเว็บไซต์ www.thaiforexreview.com

    ติดตามความเคลื่อนไหวและการประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ ได้ทางเพจเฟซบุ๊ก Thaiforexreview

    ติดตามข่าวสารการลงทุนและบทวิเคราะห์ฟอเร็กซ์ได้ที่ Forex Analysis

    อ่านบทความสาระดี ๆ ได้ที่ Blogs

    อ่านรีวิวโบรกเกอร์ยอดนิยมได้ที่ Top Brokers

    investing

    แนะนำโบรกเกอร์สำหรับคุณ

    ข้อจำกัดด้านความปลอดภัย

    Thaiforexreview.com จะไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียหรือความเสียหายใด ๆ
    ที่เกิดจากการพึ่งพาข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้ รวมถึงข่าวการตลาด การวิเคราะห์ สัญญาณการซื้อขาย และบทวิจารณ์โบรกเกอร์ Forex ข้อมูลที่อยู่ในเว็บไซต์นี้อาจไม่เป็นปัจจุบัน และการวิเคราะห์เป็นความคิดเห็น ของ Thaiforexreview.com ไม่มีการการันตีใด ๆ

    การซื้อขายสกุลเงินในตลาด Forex มีความเสี่ยงสูง ก่อนตัดสินใจซื้อขาย Forex หรือใช้เครื่องมือทางการเงินอื่น ๆ ควรพิจารณาวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงอย่างรอบคอบ เรามุ่งเน้นเพื่อเสนอข้อมูล ที่สำคัญเกี่ยวกับโบรกเกอร์ทั้งหมดที่เราตรวจสอบเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องที่สุด

    © Copyright Thaiforexreview 2023. All rights reserved