List of content

    Non-Farm คืออะไร? ปัจจัยที่ส่งผลต่อตลาด Forex ในทุกต้นเดือน


    Non-Farm คืออะไร? ปัจจัยที่ส่งผลต่อตลาด Forex ในทุกต้นเดือน

    สำหรับผู้ที่ติดตามข่าวสารด้านการเงินที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ การลงทุนในตลาดสินทรัพย์ต่าง ๆ มักมีปัจจัยหลากหลายอย่างที่ส่งผลต่อการลงทุน โดยอาจทำให้เกิดความเสี่ยงในการลงทุนได้ ซึ่ง Non-Farm เป็นอีกหนึ่งคำศัพท์ที่เหล่านักลงทุนคงเคยได้ยินกันบ่อย ๆ ซึ่งวันนี้ Thaiforexreview จะพาทุกคนไปรู้จักกับ Non-Farm ว่าคืออะไร ? ส่งผลต่อการลงทุนตลาด Forex ได้อย่างไร ? สามารถติดตามได้ในบทความนี้เลยครับ

     

    Non-Farm คืออะไร ?

    Non-Farm หรือที่เรียกกันว่า Non-Farm Payrolls (NFP) คือ รายงานตัวเลขการจ้างงานในสหรัฐอเมริกาที่ไม่รวมภาคการเกษตร ครัวเรือน และองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร เป็นดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจที่เหล่านักลงทุนใช้ดูเพื่อตัดสินใจก่อนการลงทุนในตลาดต่าง ๆ โดย Non-Farm จัดทำโดยกรมสถิติแรงงานของสหรัฐอเมริกา

     

    Non-Farm ประกาศในวันไหน ?

    รายงานตัวเลข Non-Farm จะประกาศ 1 ครั้ง/ เดือน โดยจะประกาศในทุกวันศุกร์แรกของสัปดาห์ ในช่วงเวลาประมาณ 20:30 น. ตามเวลาประเทศไทย

     

    รายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร (Non-Farm) บอกอะไรกับเหล่านักลงทุน

     

    Non-Farm บอกอะไรกับเหล่านักลงทุน

    สภาพเศรษฐกิจ  

    ตัวเลข Non-Farm ที่สูงขึ้น แสดงให้เห็นถึงอัตราการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ซึ่งสามารถบอกได้ถึงสภาพเศรษฐกิจที่ดีขึ้นเนื่องจากจำนวนการผลิตสินค้า/ บริหารที่เพิ่มขึ้นและเป็นที่ต้องการของประชาชน ทำให้กำลังคนที่ใช้สำหรับการผลิตเป็นที่ต้องการ อัตราการจ้างงานในประเทศจึงเพิ่มขึ้น ในทางกลับกันหากตัวเลข Non-Farm ต่ำลง แสดงให้เห็นถึงสภาพเศรษฐกิจที่แย่ลง ต้นทุนที่สูงขึ้นและจำนวนการผลิตที่ลดลง ส่งผลให้อัตราการจ้างงานลดลงด้วยเช่นกัน

    นโยบายทางการเงิน 

    ตัวเลขการจ้างงานที่บ่งบอกถึงสภาพเศรษฐกิจ ยังเป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลต่อนโยบายทางการเงิน เมื่อเศรษฐกิจดีขึ้น ธนาคารกลางจึงต้องปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นเพื่อป้องกันปัญหาเงินเฟ้อ และปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุน

    ตลาดหุ้น

    ราคาตลาดหุ้นมีการปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากรายงานอัตราการจ้างงานนอกภาคการเกษตรสูงขึ้น แสดงถึงความต้องการในตลาดแรงงานและการผลิตที่มากขึ้น และภาคธุรกิจที่กำลังเติบโตในสภาพเศรษฐกิจที่ดี ความน่าสนใจการลงทุนตลาดหุ้นจึงมากขึ้น ราคาหุ้นจึงมีการปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้เกิดการลงทุนในตลาดหุ้นที่มากขึ้น ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานั้นจะตรงข้ามทั้งหมด ในกรณีที่ตัวเลข Non-Farm ต่ำลง ราคาภายในตลาดหุ้นก็จะลดลงเช่นกัน

    ราคาทองคำ

    เมื่อตัวเลข Non-Farm สูงขึ้นส่งผลให้ราคาทองคำปรับตัวลดลงอันเนื่องมาจากตัวเลข Non-Farm มีความสัมพันธ์ทั้งกับตลาดหุ้นและเศรษฐกิจ โดยหากตัวเลข Non-Farm ออกมาสูง ก็จะส่งผลให้ราคาของหุ้นมีการปรับตัวสูงขึ้น อันเนื่องมาจากสภาพเศรษฐกิจที่ดี ส่งผลต่อความน่าสนใจในการลงทุน โดยตลาดหุ้นถือเป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง ตรงข้ามกับทองคำ ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่มีความปลอดภัย ส่งผลให้ราคาเกิดการสวนทางกันนั่นเอง แต่เมื่อตัวเลข Non-Farm มีการปรับตัวลดลง ราคาทองจะปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจที่อ่อนแอลง ทองคำจึงเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัยสำหรับการลงทุน คนจึงนิยมลงทุนในทองคำ และความต้องการที่มากขึ้นยังส่งผลให้ราคาทองปรับตัวสูงขึ้นนั่นเอง

    ค่าเงินดอลลาร์ 

    ค่าเงิน USD มีการแข็งค่ามากขึ้น เนื่องมาจากสภาพเศรษฐกิจที่ดีขึ้น เพราะตัวเลข Non-Farm ที่สูงขึ้นเป็นตัวบ่งบอกถึงการขยายตัวของสภาพเศรษฐกิจที่ดี ส่งผลให้เหล่านักลงทุนทั้งในและต่างประเทศเข้ามาลงทุนมากขึ้น เงินทุนจากต่างประเทศเองก็จะไหลเข้ามาภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ค่าเงิน USD แข็งค่าขึ้นนั่นเอง ซึ่งจะเกิดทิศทางตรงกันข้ามเมื่อตัวเลข Non-Farm ลดลง ส่งผลให้ค่าเงิน USD อ่อนค่าลง

     

    Non-Farm ส่งผลกระทบต่อตลาด Forex อย่างไร ? 

    1. คู่เงินหลักในตลาด Forex

    เนื่องจาก Non-Farm ส่งผลต่อค่าเงิน USD ซึ่งเป็นค่าเงินหลักในตลาดแลกเปลี่ยนสกุลเงิน ดังนั้นแล้ว

    • กรณีที่ตัวเลข Non-Farm สูงขึ้น

    หากตัวเลข Non-Farm สูงขึ้น ทำให้ค่าเงิน USD มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น ส่งผลให้คู่สกุลเงินมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้

    ผลกระทบต่อคู่เงินที่มี USD ด้านหลัง เช่น EUR/USD, GBP/USD, AUD/USD เป็นต้น : ราคามีแนวโน้มปรับตัว ลดลง

    ผลกระทบต่อคู่เงินที่มี USD ด้านหน้า เช่น USD/JPY, USD/CAD, USD/CHF เป็นต้น : ราคามีแนวโน้มปรับตัว สูงขึ้น

    • กรณีที่ตัวเลข Non-Farm ลดลง

    หากตัวเลข Non-Farm ลดลง ทำให้ค่าเงิน USD มีแนวโน้มอ่อนค่าลง ส่งผลให้คู่สกุลเงินมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้

    ผลกระทบต่อคู่เงินที่มี USD ด้านหลัง เช่น EUR/USD, GBP/USD, AUD/USD เป็นต้น : ราคามีแนวโน้มปรับตัว สูงขึ้น

    ผลกระทบต่อคู่เงินที่มี USD ด้านหน้า เช่น USD/JPY, USD/CAD, USD/CHF เป็นต้น : ราคามีแนวโน้มปรับตัว ลดลง

    2. ดัชนีเศรษฐกิจ

    ตัวเลข Non-Farm สามารถบอกแนวทางการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้ โดยตัวเลขที่สูงขึ้นของการจ้างงานบ่งบอกถึงสภาพเศรษฐกิจที่กำลังขยายตัว และการแข็งค่าของเงิน USD ทำให้เหล่านักลงทุนหันมาให้ความสนใจในค่าเงิน USD ที่แข็งค่าขึ้นและมองว่า มีความเสี่ยงต่ำ จึงหันมาลงทุนมากขึ้น ซึ่งความต้องการที่มากขึ้น ส่งผลต่อราคาคู่เงินในตลาด Forex อย่างแน่นอน

    3. นโยบายทางการเงิน

    ตัวเลข Non-Farm ส่งผลให้ธนาคารกลางมีแนวโน้มปรับอัตราดอกเบี้ย ในกรณีที่ตัวเลข Non-Farm สูงขึ้น นั่นหมายถึงเศรษฐกิจกำลังขยายตัว ธนาคารจึงปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อให้เหล่านักลงทุนเข้ามาลงทุนในประเทศ และเป็นการดึงดูดเงินทุนจากต่างประเทศ ส่งผลให้ค่าเงิน USD แข็งค่าขึ้น รวมถึงส่งผลต่อราคาในตลาด Forex โดยตรง

    4. ความเชื่อมั่นของนักลงทุน

    ตัวเลข Non-Farm ที่สูง ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับเหล่านักลงทุน เนื่องจากตัวเลขแสดงถึงอัตราการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นและเป็นที่ต้องการ เพราะกำลังการผลิตมีความต้องการมากขึ้น เพราะธุรกิจที่กำลังเติบโตและเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้คือจุดที่สร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุน ทำให้นักลงทุนจากต่างประเทศกล้าที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศมากยิ่งขึ้น ทำให้ค่าเงิน USD แข็งค่า และเป็นที่ต้องการ ซึ่งเงิน USD ยังเป็นค่าเงินหลักที่ใช้ในตลาด Forex อีกด้วย