List of content

    แนวรับ-แนวต้าน คืออะไร? ใช้ทำอะไร? สิ่งพื้นฐานที่เทรดเดอร์ต้องรู้ หากอยากอยู่รอดในตลาด Forex


    แนวรับ-แนวต้าน คืออะไร? ใช้ทำอะไร? สิ่งพื้นฐานที่เทรดเดอร์ต้องรู้ หากอยากอยู่รอดในตลาด Forex

    ในการเทรด Forex นั้น สิ่งที่เทรดเดอร์ทุกคนควรที่จะ “ต้องรู้” และทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งหลังจากที่เข้ามาในตลาด Forex นั่นก็คือความรู้พื้นฐานอย่าง แนวรับ-แนวต้าน เพื่อที่จะได้เข้าใจถึงหลักการต่าง ๆ ของการเคลื่อนที่ของราคาในตลาด Forex แล้วแนวรับ-แนวต้านคืออะไร มีไว้เพื่ออะไร แล้วมีความสำคัญกับการเทรด Forex มากน้อยแค่ไหน วันนี้ Thaiforexreview จะพามารู้จักกับแนวรับ-แนวต้านให้มากขึ้นกันครับ

     

     
     

     

    แนวรับ-แนวต้าน คืออะไร?

    แนวรับ-แนวต้าน คืออะไร

    แนวรับ-แนวต้าน หรือ Support & Resistance คือ ช่วงของราคาที่ถูกมองว่าเป็นจุดนัยสำคัญต่อการเคลื่อนที่ของราคา ซึ่งระดับราคาที่มีความสำคัญเหล่านั้น จะถูกสะท้อนไปเป็นอุปสงค์ (Demand) และอุปทาน (Supply) 

    แนวรับ (Support Zone) คือ ช่วงระดับราคาที่ต่ำกว่าราคาปัจจุบัน เป็นราคาที่เคยลงไปทำไว้ต่ำกว่าปัจจุบัน ซึ่งเมื่อราคาลงไปถึงที่ระดับดังกล่าว นักลงทุนจะมองว่าระดับราคานั้น เป็นระดับราคาที่ “น่าเข้าซื้อ” ถ้านักลงทุนหลาย ๆ คนมองเหมือนกัน จนทำให้เกิดอุปสงค์ (Demand) จำนวนมาก อาจทำให้ราคาเกิดการกลับตัวขึ้นไปนั่นเอง 

    แนวรับ support

     

    แนวต้าน (Resistance Zone) คือ ช่วงราคาที่สูงกว่าในช่วงปัจจุบัน โดยเป็นราคาที่เคยทำไว้ในอดีต ซึ่งเมื่อราคาขึ้นไปถึงระดับดังกล่าว นักลงทุนจะมองว่าระดับราคานั้น เป็นระดับราคาที่ “น่าเทขาย” ถ้านักลงทุนหลาย ๆ คนมองเหมือนกัน จนทำให้เกิดอุปทาน (Supply) จำนวนมาก และอาจจะทำให้ราคาเกิดการกลับตัวลงเมื่อราคาขึ้นไปถึงบริเวณดังกล่าวนั่นเองครับ

    แนวต้าน resistance

     

    ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า “แนวรับ” และ “แนวต้าน” เป็นคำเชิงจิตวิทยา ยกตัวอย่างเช่น ราคาทองคำร่วงมาที่บริเวณ $1,800 แล้วราคาก็กลับตัวขึ้นไป แต่เนื่องจากว่าคุณไม่ได้ดูกราฟในเวลานั้น ทำให้พลาดโอกาสในการเข้าซื้อที่ราคา $1,800 แต่ในเวลาต่อมาราคาก็กลับมาที่บริเวณ 1,800 อีกครั้ง โดยครั้งนี้คุณนั่งเฝ้ากราฟอย่างจดจ่อ และ “มีความรู้สึก” ว่าไม่อยากที่จะพลาดโอกาสเหมือนครั้งที่แล้ว ตรงคำว่า “ความรู้สึก” ก็เปรียบได้กับอารมณ์ของนักลงทุนหลาย ๆ คนรวมกัน ซึ่งกลายมาเป็นตัวที่กำหนดอุปสงค์-อุปทาน และเป็นเหตุผลที่ทำให้ราคาเกิดการเคลื่อนที่ขึ้น-ลงนั่นเองครับ

     

    รูปแบบของแนวรับ-แนวต้าน?

    รูปแบบของแนวรับ-แนวต้านนั้นสามารถที่จะมองได้หลายแบบ ขึ้นอยู่กับการมองของนักลงทุนเอง โดยสามารถแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบ ดังนี้ 

    1. จุดสูงสุด-จุดต่ำสุด (Highest-Lowest)

    แนวรับ-แนวต้านที่เกิดจุดสูงสุด-จุดต่ำสุด คือระดับราคาที่ในอดีตเคยขึ้นหรือลงไปเป็นจุดที่ต่ำที่สุดหรือสูงที่สุด ซึ่งจะกลายมาเป็นแนวรับ-แนวต้านในเชิงจิตวิทยา ที่จะมีระดับอุปสงค์-อุปทานรออยู่เป็นจำนวนมาก และมีโอกาสที่ราคาจะกลับตัวสูง

    แนวรับ-แนวต้าน จุดสูงสุด จุดต่ำสุด

    2. เส้นแนวโน้ม (Trend Line)

    จุดแนวรับ-แนวต้านที่เกิดจากการวาดเส้น Trend Line ของเทรดเดอร์ เป็นการวาดเส้นเพื่อที่จะดูการกระทำของราคาเมื่อลงไปในระดับแนวรับ-แนวต้านที่เราวาดเอาไว้ เช่น การกลับตัว หรือการ Break Out เป็นต้น 

    แนวรับ-แนวต้าน trend line

    3. ตัวเลขกลม ๆ (Round Number)

    ตัวเลขกลม ๆ เป็นแนวรับ-แนวต้านในเชิงจิตวิทยา เป็นแนวรับ-แนวต้านที่มีโอกาสในการกลับตัวสูง เนื่องจากว่านักลงทุนส่วนใหญ่มักจะทำการเข้าซื้อหรือขายที่ระดับราคาที่มีตัวเลขกลม ๆ นั่นเองครับ

    แนวรับ-แนวต้าน ตัวเลขกลมๆ

    4. สัดส่วนฟิโบนาชี (Fibonacci Ratio)

    แนวรับ-แนวต้านจากระดับของ Fibonacci นั้น เป็นหลักการเดียวที่ไม่ได้อยู่ในหลักของจิตวิทยา และไม่สามารถที่จะอธิบายได้ว่านำมาใช้วัดระดับแนวรับ-แนวต้านได้อย่างไร รู้เพียงแค่ว่า Fibonacci จะใช้ดูในกรณีที่ราคาเกิดการพักตัว หรือจบการย่อตัวที่ระดับใดระดับหนึ่งของ Fibonacci Ratio เท่านั้น ซึ่งสามารถพิจารณาว่าจุดนั้นเป็นแนวรับ-แนวต้านได้เช่นกัน

    แนวรับ-แนวต้าน fibonacci

     

    แนวรับ-แนวต้านใช้งานอย่างไร?

    หลังจากที่ได้ทราบว่าแนวรับ-แนวต้าน คือระดับราคาที่นักลงทุนมองว่าเป็นจุดที่ “น่าเข้าซื้อขาย” กันแล้ว จะพาทุกคนมารู้จักว่า แนวรับ-แนวต้านใช้งานอย่างไร? 

    อย่างที่ทราบกันดีว่า แนวรับ-แนวต้าน เป็นระดับราคาที่มีความสำคัญ ซึ่งทำให้เกิดอุปสงค์-อุปทานขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าการเกิดอุปสงค์-อุปทานนั้น ทำให้เกิดการกลับตัวหรือการพักตัวของราคาที่จุดแนวรับ-แนวต้านดังกล่าว โดยสามารถที่จะนำเทคนิคต่างๆ เข้ามาช่วยในการยืนยันการกลับตัวได้ เช่น รูปแบบของแท่งเทียน (Price Action), รูปแบบของกราฟ (Chart Pattern) และ Divergence 

    นอกจากการใช้แนวรับ-แนวต้านเป็นจุดกลับตัวแล้ว ยังสามารถที่จะนำไปใช้สังเกตการกระทำของราคาได้อีกด้วย ตัวอย่างเช่น ใช้ดูการเกิด Break Out ที่แนวรับ-แนวต้าน เพื่อที่จะดูว่าราคาจะสามารถไปต่อได้หรือไม่

    ตัวอย่างการนำแนวรับ-แนวต้านไปใช้ในการเทรด Forex