List of content
Stop Loss คืออะไร? หยุดขาดทุนก่อนสายไป เทรดเดอร์ใช้ในตลาด Forex
การเทรดในตลาด Forex นอกเหนือจากการทำกำไรจากการเทรด เทรดเดอร์สามารถเกิดการขาดทุนได้ แต่เทรดเดอร์ทุกท่านครับ การวางแผนการเทรด Forex สามารถจำกัดการขาดทุนได้ในกรณีที่เทรดเดอร์เข้าออเดอร์แล้วไม่เป็นไปตามดังที่คิด คำสั่งที่ว่านี้ นั่นคือ Stop Loss บทความนี้ทางทีมงาน Thaiforexreview จะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับคำสั่งประเภทนี้กันครับ
Stop Loss คือ คำสั่งประเภทหนึ่งในตลาด Forex ใช้เมื่อเทรดเดอร์ต้องการปิดออเดอร์ เพื่อเป็นการตัดขาดทุน เทรดเดอร์สามารถตั้งคำสั่ง Stop Loss ล่วงหน้าได้ เพื่อเป็นการจำกัดการขาดทุนในการเทรดครับ
คำสั่ง Stop Loss ทำงานเมื่อเทรดเดอร์ทำการตั้งคำสั่ง Stop Loss และกำหนดจุดตัดขาดทุนที่ชัดเจน เมื่อราคาไปในทิศทางไม่ถูกต้อง เทรดเดอร์จะเริ่มขาดทุน และเทรดเดอร์จะโดนปิดออเดอร์เนื่องจากตั้ง Stop Loss ไว้ เพื่อเป็นการให้เทรดเดอร์ไม่ขาดทุนมากจนเกินไป รวมไปถึงเกิดการล้างพอร์ตได้นั่นเองครับ
ประเภทของ Stop Loss จะแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. Fixed Stop Loss
Fixed Stop Loss คือ การตั้ง Stop Loss ในระดับราคาคงที่ โดยเทรดเดอร์เป็นคนตั้งค่าคำสั่ง Stop Loss ตั้งแต่แรกครับ
2. Trailing Stop Loss
Trailing Stop Loss คือ การตั้ง Stop Loss ในระดับที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ ในกรณีที่เทรดเดอร์เข้าออเดอร์แล้วถูกทางแต่ยังไม่อยากปิดกำไร จึงทำการเลื่อน Stop Loss และ Take Profit ขึ้นไปเพื่อทำการจำกัดการขาดทุนและปล่อยให้กำไรวิ่งต่อไปครับ
วิธีการตั้ง Stop Loss จะขึ้นอยู่กับการวางแผนของเทรดเดอร์แต่ละท่าน ทางทีมงาน Thaiforexreview จะแนะนำวิธีการตั้ง Stop Loss ด้วยวิธีต่าง ๆ ดังนี้
เทรดเดอร์สามารถตั้ง Stop Loss ด้วยการใช้เปอร์เซ็นต์ของพอร์ตเป็นการจำกัดการขาดทุน เช่น สามารถรับความเสี่ยงได้ 5% ต่อการเทรดครั้งนี้ สิ่งที่เทรดเดอร์ควรทำคือ การตั้งคำสั่ง Stop Loss ของคู่เงินที่เทรด โดยกำหนด Stop Loss ที่ 5% ของพอร์ตครับ
ตัวอย่างเช่น เทรดเดอร์มีทุนในการเทรด $1,000 เทรดเดอร์สามารถรับความเสี่ยงได้ 5% แสดงว่าเทรดเดอร์สามารถรับความเสี่ยงจากการเทรดครั้งนี้อยู่ที่ $50 ครับ
เทรดเดอร์สามารถใช้อินดิเคเตอร์ ในการกำหนดจุดเข้าออเดอร์รวมถึงจุด Stop Loss ด้วยเช่นกัน เทรดเดอร์จะใช้สัญญาณที่เกิดขึ้นจากอินดิเคเตอร์ที่แสดงบนกราฟคู่เงิน Forex โดยทีมงาน Thaiforexreview จะยกตัวอย่างอินดิเคเตอร์และการตั้งคำสั่ง Stop Loss จากการอินดิเคเตอร์ครับ
การตั้ง Stop Loss โดยใช้ EMA (Exponential Moving Average)
เทรดเดอร์สามารถใช้ EMA ในการตั้ง Stop Loss ได้ครับ ตัวอย่างเช่น เทรดเดอร์เทรดคู่เงิน USD/JPY เข้าออเดอร์ Sell ที่ 147.000 ซึ่งเข้าออเดอร์ Sell ตามอินดิเคเตอร์ EMA โดยจะใช้เส้น EMA 50 ในการเข้าออเดอร์ Sell จากนั้น เทรดเดอร์ทำการตั้งคำสั่ง Stop Loss โดยจะใช้เส้น EMA 200 การ Stop Loss ซึ่งราคาคู่เงินอยู่ที่ 147.500 จะเห็นได้ว่ากรณีเทรดเดอร์เข้าออเดอร์ถูกทาง จะมีการเลื่อน Stop Loss ลงมาเพื่อเป็นการจำกัดการขาดทุนนั่นเองครับ
การตั้ง Stop Loss โดยใช้ BB (Bollinger Band)
เทรดเดอร์สามารถใช้ Bollinger Band ในการตั้ง Stop Loss ได้ครับ ตัวอย่างเช่น เทรดเดอร์เทรดคู่เงิน USD/JPY เข้าออเดอร์ Sell ที่ 147.000 ซึ่งเข้าออเดอร์ Sell ตามอินดิเคเตอร์ BB โดยเข้าออเดอร์ Sell ในตอนที่ราคาคู่เงินกำลังลง และเทรดเดอร์ได้ทำการตั้งคำสั่ง Stop Loss โดยใช้เส้น Upper Band ในการกำหนด Stop Loss ครับ จะเห็นว่าในขณะที่ราคากำลังลงเทรดเดอร์ได้ทำการเลื่อนคำสั่ง Stop Loss ลงเรื่อย ๆ ตามเส้น Upper Band เพื่อเป็นการจำกัดการขาดทุนรวมถึงการปล่อยให้กำไรวิ่งไปครับ
การตั้ง Stop Loss โดยใช้ Fibonacci Retracement
เทรดเดอร์สามารถใช้ Fibonacci Retracement ในการตั้ง Stop Loss ได้ครับ ตัวอย่างเช่น เทรดเดอร์เทรดคู่เงิน USD/JPY เข้าออเดอร์ Sell ที่ 147.000 ซึ่งค่า Fibonacci อยู่ที่ 0.618 และเทรดเดอร์ทำการตั้งคำสั่ง Stop Loss อยู่ที่โซน 148.135, 148.620 และ 149.417 ซึ่งตรงกับค่า Fibonanci อยู่ที่ 0.786, 0.867 และ 1 ครับ
การใช้ Stop Loss ในการเทรด Forex เนื่องจากตลาด Forex มีความผันผวนสูงแต่สามารถจำกัดความเสี่ยงได้และเทรดเดอร์สามารถตั้งคำสั่ง Stop Loss ได้ทั้งโปรแกรมที่โบรกเกอร์ให้บริการหรือผ่านโปรแกรม MT5 ซึ่งเป็นโปรแกรมที่นิยมในการเทรด Forex โดยมีตัวอย่างดังนี้ครับ